ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศประชาธิปไตยทั่วโลกให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเลือกตั้ง โดยมุ่งเน้นไปที่การทำให้กระบวนการเลือกตั้งมีความราบรื่น เรียบร้อย และโปร่งใส มากกว่าความพยายาม ในการปฏิรูปการเลือกตั้งขนานใหญ่ผ่านการเปลี่ยนแปลงแก้ไขระบบการเลือกตั้ง (James, ๒๐๒๐) ดังตัวอย่าง การปรับปรุงวิธีการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งโดยนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความสะดวกรวดเร็วของกระบวนการเลือกตั้งในหลายประเทศทั่วโลก เช่น บราซิลกำหนดให้ การลงคะแนนเสียงเลือกตั้งต้องทำผ่านเครื่องลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น เบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์ มีการใช้ระบบการลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ควบคู่ไปกับการใช้บัตรเลือกตั้งแบบดั้งเดิม และเอสโตเนียได้มี การพัฒนาระบบการลงคะแนนออนไลน์และนำไปใช้กับการเลือกตั้งทุกระดับ (Barrat i Esteve, Goldsmith and Turner, ๒๐๑๒) อย่างไรก็ตาม แนวทางที่เป็นที่นิยมมากที่สุดคือการออกแบบเชิงสถาบันเพื่อจัดวาง องค์ประกอบของการบริหารจัดการการเลือกตั้ง ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องของการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ เลือกตั้ง วิธีการสมัครรับเลือกตั้ง การจัดการเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง วิธีการนับ คะแนน การรวบรวมผลคะแนน การประกาศและรับรองผลการเลือกตั้ง จนถึงการติดตาม ตรวจสอบและ ประเมินผลการเลือกตั้ง (Massicotte, Blais and Yoshinaka, ๒๐๐๓) ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า การเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นได้มีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เปิดเผยโปร่งใส สุจริตเที่ยงธรรม อันจะส่งผลต่อความชอบธรรมของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและการดำรงอยู่ของ หลักนิติธรรม (Carter and Farrell, ๒๐๑๐)
รายการ
บทความพิเศษ
17
วิจัยประเมินผลและถอดบทเรียนการดำเนินการให้ได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567 (ฉบับสมบูรณ์)
รายงานการประเมินผลการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น (บทสรุปผู้บริหาร)
โครงการวิจัยประเมินผลการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับสมบูรณ์)
คำค้นหายอดนิยม
ระบบได้รับข้อมูลการแจ้งไฟล์เสียเรียบร้อยแล้ว
กรุณาลองใหม่อีกครั้ง