สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจัดแบ่งส่วนงานออกเป็น 2 ส่วนงาน คือ
คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ประกอบด้วย
ประธานกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 1 คน และกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดจำนวน 4 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4ปี นับแต่วันที่คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 14 ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ.2550ดังนี้
(1) อำนวยการการเลือกตั้งและการออกเสียงประชามติที่กระทำภายในจังหวัดนั้น
(2) เสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งสำหรับการแบ่งเขต เลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้ง ที่ใช้วิธีการ แบ่งเขต เลือกตั้งต่อคณะกรรมการ การเลือกตั้ง
(3) รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือผู้มีสิทธิออกเสียง ประชามติ
(4) เสนอแนะต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อพิจารณาแต่งตั้งบุคคลผู้มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง หรือการออกเสียง ประชามติ ตามที่กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา กฎหมายประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วย การออกเสียง ประชามติ หรือกฎหมายว่าด้วย
(5) พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติงานประจำปีหรือโครงการเกี่ยวกับการดำเนินการเลือกตั้งของสนง.กกต.จว.
(6) ปฏิบัติงานอื่นตามระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ และมติของกกต. หรือตามที่กกต.มอบหมายหรือมีคำสั่ง
(7) กำกับดูแลการปฏิบัติงานของสนง.กกต.จว.
ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด (ผอ.กต.จว.)
เป็นพนักงานสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งตามระเบียบกกต.ว่าด้วยการบริหารงานบุคคล และเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานและลูกจ้างของ สนง.กกต.จว. รับผิดชอบการปฏิบัติโดยขึ้นตรงต่อเลขาธิการ กกต.ปฏิบัติหน้าที่ตามประกาศระเบียบข้อกำหนดและมติของคณะกรรมการการเลือกตั้ง รวมถึงการปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดมอบหมายหรือมีคำสั่ง บทบาทและอำนาจหน้าที่ของ ผอ.กต.จว.เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดและผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด พ.ศ.2552 ข้อ 6 ดังนี้
-
จัดทำและเสนอแผนปฏิบัติงานประจำปีของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัด และแผนหรือโครงการเกี่่ยวกับการดำเนินการเลือกตั้งให้คณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิจารณาให้ความเห็นชอบ
-
ประสานขอความร่วมมือกับส่วนราชการหรือภาคเอกชนหรือองค์การเอกชนหรือองค์กรประชาชน ในการให้การสนับสนุนการเลือกตั้ัง
-
ให้การศึกษาแก่เยาวชนและประชาชนเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-
รณรงค์ประชาสัมพันธ์ตลอดจนประสานขอความร่วมมือประชาชน ภาคเอกชน องค์การเอกชน ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้ง
-
เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเมืองการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
-
ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของพรรคการเมืองและสาขาพรรคการเมืองในจังหวัดและให้คำปรึกษาแนะนำ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
-
ดำเนินการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
-
ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการเลือกตั้ง และการออกเสียงประชามติ
-
ดำเนินการเกี่ยวกับการสืบสวนสอบสวน และคัดค้านการเลือกตั้งรวมทั้งการออกเสียงประชามติ
-
ปฏิบัติงานอื่นตามระเบียบ ข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง และมติของ