Election Commission of Thailand

วิธีการหาเสียงเลือกตั้ง

ข่าวประชาสัมพันธ์ กกต.

17 October 2024

3719/

13

ตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
การหาเสียงเลือกตั้งเป็นกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้ผู้สมัครได้แสดงวิสัยทัศน์และนโยบาย โดยมีวิธีการหลากหลายให้เลือกใช้ ได้แก่

                1. การปิดประกาศและติดแผ่นป้าย
                2. โดยพาหนะ
                3. วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
                4. โดยบุคคล (ผู้ช่วยหาเสียง)
                5. สถานที่หรือเวทีหาเสียง

1. การหาเสียงเลือกตั้งโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์
สามารถหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ด้วยตนเอง หรือมอบ หรือว่าจ้างบุคคลหรือนิติบุคคล ดำเนินการแทนได้ ด้วยวิธีการ ดังต่อไปนี้

                1.เว็บไซต์
                2.โซเซียลมีเดีย
                3.ยูทูป
                4.แอปพลิเคชัน
                5.อีเมล์
                6.เอสเอ็มเอส
                7.สื่ออิเล็กทรอนิกส์อื่นทุกประเภท

ผู้สมัครสามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัว ผู้สมัคร ชื่อของพรรคการเมือง สัญลักษณ์พรรคการเมือง สัญลักษณ์ นโยบายของผู้สมัคร คติพตน์ คำขวัญ ข้อมูลประวัติเฉพาะที่เกี่ยวกับ ตัวผู้สมัคร พร้อมระบุชื่อตัว ชื่อสกุล ที่อยู่ ของผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และวันเดือนปีที่ผลิต ไว้บริเวณที่เห็นได้ชัดเจนด้วย

การนำข้อมูลพรรคการเมืองหรือภาพบุคคลไปใช้ ในการหาเสียง ต้องขออนุญาตพรรคหรือบุคคลนั้นเป็นหนังสือให้ความยินยอม ให้ผู้สมัครยื่นหาเสียงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยแจ้งวิธีการ รายละเอียด ช่องทาง ระยะเวลา ในการหาเสียง รวมทั้งหลักฐานอื่นต่อ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทราบก่อนดำเนินการหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์

เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งหาเสียงทางอิเล็กทรอนิกส์
                1.หนังสือแจ้งหาเสียงเลือกตั้งทางอิเล็กทรอนิกส์
                2.สำเนาหน้าโปรไฟล์สื่ออิเล็กทรอนิกส์ พร้อมรับรองสำเนาเจ้าของสื่อ
                3. สำเนาเอกสารหน้าไอดี/ลิงก์ URL พร้อมรับรองสำเนาเจ้าของสื่อ

บุคคลที่มิได้เป็นผู้สมัครหรือพรรคการเมือง ที่ประสงค์จะหาเสียงโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้สมัครใด มีค่าใช้จ่ายเป็นค่าจ้างจัดทำสื่อ หรือค่าตอบแทนในการดำเนินการ รวมแล้วเกินกว่า 5,000 บาท ให้ผู้นั้นแจ้งค่าใช้จ่ายให้ผู้สมัครทราบ ทั้งนี้ให้ผู้สมัครแจ้ง ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัดทราบ เพื่อรวมเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง

2. การหาเสียงด้วยผู้ช่วยหาเสียง
                1. ให้ผู้สมัครแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ช่วยหาเสียง หน้าที่ และค่าตอบแทน (340 บาท/คน/วัน) พร้อมบัญชีรายชื่อ และแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ที่มีการเซ็นรับรองสำเนา ต่อผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด ทราบก่อนวันดำเนินการ
                2. ผู้สมัครสามารถจัดหาเสื้อผ้า สิ่งของ อาหาร เครื่องดื่มสำหรับผู้ช่วยหาเสียงได้
                3. กรณีแจ้งเปลี่ยนตัวผู้ช่วยหาเสียง สามารถแจ้งได้ไม่เกิน 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ช่วยหาเสียง
                4. กรณีบุคคลที่ไม่ใช่ผู้ช่วยหาเสียงเข้าช่วยเหลือในการหาเสียงเลือกตั้ง ให้ผู้สมัครแจ้งเหตุการณ์นั้น ให้ ผอ.กต.จ.ทราบโดยเร็ว
                5. ผู้ช่วยหาเสียงต้องเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
                6. ไม่ได้จำกัดจำนวนของผู้ช่วยหาเสียง แต่ต้องคำนวณในค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง
                7. บุคคลที่ยกเว้นไม่ต้องแจ้งและไม่คิดเป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ สามี/ภรรยา และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย

 เอกสารที่ต้องใช้ในการแจ้งหาเสียงด้วยผู้ช่วยหาเสียง
                1. หนังสือขอแจ้งรายชื่อและจำนวน ผู้ช่วยหาเสียง
                2. บัญชีรายชื่อผู้ช่วยหาเสียง
                3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้ช่วยหาเสียง พร้อมรับรอง สำเนา

3. การปิดประกาศและติดแผ่นป้ายเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง
                1. ประกาศ มีขนาดความกว้างไม่เกิน 30 ซม. x ยาว 42 ซม.
                2. แผ่นป้าย มีขนาดความกว้างไม่เกิน 130 ซม. x ยาว 245 ซม.
                3. ผู้สมัครสามารถระบุชื่อ รูปถ่าย หมายเลขประจำตัวผู้สมัคร ชื่อพรรค สัญลักษณ์พรรค นโยบายผู้สมัคร คติพจน์ คำขวัญ ข้อมูลประวัติ เฉพาะที่เกี่ยวกับผู้สมัคร พร้อมระบุชื่อ ที่อยู่ผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน ว/ด/ป ที่ผลิตไว้บริเวณที่เห็นชัดเจนของประกาศและแผ่นป้าย
                4. หากนำข้อมูลเกี่ยวกับพรรคหรือบุคคล จะต้องได้รับความยินยอม เป็นหนังสือจากพรรคหรือบุคคลนั้น
                5. จำนวนประกาศ ผู้สมัครจัดทำได้ไม่เกิน 5 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้ง
                6. จำนวนแผ่นป้าย ผู้สมัครจัดทำได้ไม่เกิน 3 เท่าของจำนวนหน่วยเลือกตั้ง
                7. การเลือกตั้งเทศบาลนคร จัดทำประกาศได้ไม่เกิน 10 เท่า ของจำนวนหน่วยเลือกตั้ง และจำทำแผ่นป้ายได้ไม่เกิน 5 เท่า ของหน่วยเลือกตั้ง

4. การโฆษณาหาเสียงโดยพาหนะ
เอกสารที่ใช้แจ้งต่อ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 
                1. หนังสือขอแจ้งพาหนะ ในการหาเสียงเลือกตั้ง

                2. สำเนาคู่มือการจดทะเบียนรถ พร้อมรับรองสำเนาจากเจ้าของรถ
                3. สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ พร้อมรับรองสำเนา
                4. สำเนาใบอนุญาตขับขี่ของผู้ขับขี่ พร้อมรับรองสำเนา

5. การโฆษณาหาเสียงโดยใช้สถานที่หรือเวทีหาเสียง
เอกสารที่ใช้แจ้งต่อ ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำจังหวัด 
                
1. หนังสือขอแจ้งสถานที่หรือเวที เพื่อโฆษณาหาเสียงเลือกตั้ง

                2. แผนที่ตั้งเวที
                3. รายละเอียดเกี่ยวกับวัน เวลา สถานที่ตั้งเวที และจำนวนผู้เข้าร่วม

***ลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้ง

                1. ห้ามนำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้ง
                2. ห้ามแจกจ่ายเอกสารเกี่ยวกับ การหาเสียงเลือกตั้ง โดยวิธีการวาง หรือโปรยในที่สาธารณะ
                3. ห้ามแจกเอกสารหรือวิดีทัศน์ ที่เกี่ยวกับการหาเสียงที่มิได้ระบุชื่อตัว ชื่อสกุลผู้ว่าจ้าง ผู้ผลิต จำนวน และ ว/ด/ป ที่ผลิต ไว้อย่างชัดเจน
                4. ห้ามหาเสียงโดยใช้ถ้อยคำรุนแรง หรือปลุกระดม ก่อให้เกิดความไม่สงบในพื้นที่
                5. ห้ามช่วยเหลือเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด อันอาจคำนวณเป็นเงินได้ ให้แก่ผู้ใด
                6. ห้ามหาเสียงโดยนำชื่อของพรรคการเมือง สัญลักษณ์พรรค คติพจน์ คำขวัญ หรือภาพบุคคล โดยมิได้มีหนังสือให้ความยินยอมจากพรรคหรือบุคคลนั้น

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2563
ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563