Election Commission of Thailand

การได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

องค์ความรู้การเลือกตั้ง
01 กุมภาพันธ์ 2567
149435
181

sn67-03 

ความสำคัญของการเลือกสมาชิกวุฒิสภา

สมาชิกวุฒิสภา (สว.) นับว่ามีความสำคัญยิ่งต่อคนไทยทุกคนที่สามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยการสมัครเข้ารับเลือก สว. เข้าไปทำหน้าที่ในสภาสูงเป็นตัวแทนของประชาชนคนไทย ในการตรากฎหมายเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวมและประเทศชาติ และคัดกรองบุคคลนักการเมืองหรือคนดีทำงานในองค์กรสำคัญต่างๆ ให้สามารถพัฒนาบ้านเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
 
หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภา
  1. พิจารณาและกลั่นกรองกฎหมาย พิจารณาและกลั่นกรองพระราชบัญญัติ อนุมัติพระราชกำหนด แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ
  2. ควบคุมการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งกระทู้ถาม เปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภาหรือที่ประชุมรัฐสภา การตั้งกรรมาธิการ 
  3. ให้คำแนะนำหรือความเห็นชอบให้บุคคลดำรงตำแหน่งในองค์กรตามรัฐธรรมนูญ เช่น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน เป็นต้น
คุณสมบัติของสมาชิกวุฒิสภา
สมาชิกวุฒิสภาต้องไม่ฝักใฝ่หรือยอมตนอยู่ภายใต้ของพรรคการเมืองใดๆ โดยมีคุณสมบัติดังนี้
  1. มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
  2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 40 ปีในวันสมัครรับเลือก
  3. มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทำงานในด้านที่สมัครไม่น้อยกว่าสิบปี ยกเว้น ผู้สมัครในกลุ่มสตรี ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธ์ุ และกลุ่มอัตลักษณ์อื่น
  4. ผู้สมัครต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ด้วย

(ก) เป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก 
(ข) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สองปีนับถึงวันสมัครรับเลือก 
(ค) ทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี นับถึงวันสมัครรับเลือก 
(ง) เคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าสองปี 
(จ) เคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า สองปีการศึกษา

 

ลักษณะต้องห้ามของสมาชิกวุฒิสภา

  1. ติดยาเสพติดให้โทษ
  2. เป็นบุคคลล้มละลายหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
  3. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใด ๆ
  4. เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
  5. อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิเลือกต้ังไม่ว่าคดีนั้นจะถึงที่สุดแล้วหรือไม่
  6. วิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
  7. อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
  8. ต้องคำพิพากษาให้จำคุกและถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
  9. เคยได้รับโทษจำคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกในระดับอำเภอ เว้นแต่ ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
  10. เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเพราะทุจริตต่อหน้าที่ หรือถือว่ากระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
  11. เคยต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลอันถึงที่สุดให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะร่ำรวยผิดปกติ หรือเคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจำคุกเพราะกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  12. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการหรือ ต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การ หรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นำเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ หรือเจ้าสำนัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
  13. เคยต้องคำพิพากษาอันถึงที่สุดว่ากระทำการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
  14. อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  15. เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ
  16. เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ
  17. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีการเสนอ การแปรญัตติ หรือ การกระทำด้วยประการใด ๆ ที่มีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย
  18. เคยพ้นจากตำแหน่งเพราะศาลฎีกาหรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีคำพิพากษาว่าเป็นผู้มีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ หรือกระทำความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติ ตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง
  19. เป็นข้าราชการ
  20. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  21. เป็นสมาชิกพรรคการเมือง
  22. เป็นหรือเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดในพรรคการเมือง เว้นแต่ ได้พ้นจากการดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  23. เป็นหรือเคยเป็นรัฐมนตรี เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นรัฐมนตรีมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  24. เป็นหรือเคยเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรอืผู้บริหารท้องถิ่น เว้นแต่ ได้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
  25. เป็นบุพการี คู่สมรส หรือบุตรของผู้ดำรงตาแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา ข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในคราวเดียวกัน หรือผู้ดำรงตำแหน่งใดในศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ
  26. เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้
ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2560 กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาทั้งหมด จำนวน 200 คน ดำรงตำแหน่งได้คราวละ 5 ปี เป็นได้วาระเดียว
สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกกันเอง ตั้งแต่ระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับประเทศของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทำงาน หรือเคยทำงานด้านต่าง ๆ ที่หลากหลายของสังคม จาก 20 กลุ่มอาชีพ ตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 200 คน 
 
20 กลุ่มอาชีพ ผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา
sn67-02-1   
กระบวนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
  • พระราชกฤษฏีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภามีผลใช้บังคับ
  • กกต. ประกาศกำหนดวันและเวลารับสมัคร และวันเลือกระดับอำเภอ จังหวัดและประเทศ
    (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
  • ผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอประกาศกำหนดสถานที่รับสมัคร
    (วันถัดจากวันที่ กกต. ประกาศ)
  • เปิดสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา โดยมีระยะเวลารับสมัคร 5 - 7 วัน
    (
    ไม่ช้ากว่า 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาฯ มีผลใช้บังคับ)
  • ประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัคร
    (ภายใน 5 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
  • การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับอำเภอ
    (ภายใน 20 วัน นับแต่วันที่สิ้นสุดระยะเวลารับสมัคร)
  • การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับจังหวัด
    (ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับอำเภอ)
  • การเลือกสมาชิกวุฒิสภา ระดับประเทศ
    (ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่เลือกระดับจังหวัด) 
  • กกต. ประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ขั้นตอนการเลือกสมาชิกวุฒิสภา
sn67-01 
การสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา
ผู้ที่ประสงค์จะสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา สามารถสมัครรับเลือกโดยยื่นใบสมัครด้วยตนเอง และมีสิทธิสมัครเพื่อเข้ารับเลือกในกลุ่มอาชีพได้เพียงกลุ่มเดียวอำเภอเดียว
 
ก่อนวันรับสมัคร
ผู้ประสงค์จะสมัครติดต่อขอรับเอกสารการสมัครจากนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยมีเอกสารดังนี้
    1. แบบใบสมัคร (สว.2)
    2. แบบข้อมูลแนะนำตัวผู้สมัคร (สว.3)
    3. แบบหนังสือรับรองความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ หรือทางานในกลุ่มที่สมัคร (สว.4)
    4. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
    5. สำเนาทะเบียนบ้าน
    6. ใบรับรองแพทย์
    7. รูปถ่ายหน้าตรงไม่สวมหมวกและไม่สวมแว่นตาดำ หรือภาพพิมพ์ ขนาดกว้างประมาณ 8.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 13.5 เซนติเมตร
    8. หลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
      • หลักฐานซึ่งแสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งเกิดในอำเภอที่สมัครรับเลือก
      • หลักฐานซึ่งแสดงว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2ปีนับถึงวันสมัครรับเลือก
      • หลักฐานซึ่งแสดงว่าทำงานอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือก
      • หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยทำงานหรือเคยมีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านในอำเภอที่สมัครรับเลือก แล้วแต่กรณี เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี
      • หลักฐานซึ่งแสดงว่าเคยศึกษาในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในอำเภอที่สมัครรับเลือกมาแล้ว เป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปีการศึกษา
    9. หลักฐานอื่น ๆ เช่น
      • หลักฐานการขอลาออก หรือการขออนุญาตให้ลาออกกรณีเป็นข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ เป็นพนักงานหรือลูกจ้างหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
      • เอกสารแสดงการเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล (ถ้ามี)
    10. เงินค่าธรรมเนียมการสมัคร 2,500 บาท
    11. สำเนาหลักฐานอื่นที่ผู้สมัครนำมาแสดงตนว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วน และไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกและไม่เป็นบุคคลผู้ถูกจากัดสิทธิตามกฎหมายเกี่ยวกับการเลือกตั้งและพรรคการเมือง
เอกสารประกอบการสมัครตาม (4) (5) (8) (9) และ (11) ให้ผู้สมัครเซ็นรับรองความถูกต้อง ทุกฉบับทุกหน้า
วันรับสมัคร
    • ผู้ประสงค์จะสมัครในเขตอำเภอยื่นเอกสารหลักฐานการสมัครด้วยตนเองต่อผู้อำนวยการการเลือกระดับอำเภอ โดยมีสิทธิสมัครได้เพียงกลุ่มเดียวและอำเภอเดียว
    • ในระหว่างเวลาการรับสมัครจนสิ้นสุดระยะเวลาการรับสมัคร ห้ามมิให้คณะกรรมการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยรายชื่อผู้สมัคร และจำนวนผู้สมัครในแต่ละกลุ่ม
กฎหมาย/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง
  1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
  2. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พุทธศักราช 2564
  3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
  4. พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567
  5. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567
  6. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567
  7. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2567
  8. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567
  9. ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2567
  10. ระเบียบ กกต. ว่าด้วยการใช้จ่ายเงินในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2567
  11. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง การมีลักษณะอื่น ๆ ในทำนองเดียวกัน ตามมาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2561
  12. ประกาศ กกต. เรื่อง กำหนดวันเลือกและวันรับสมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา

สื่อประชาสัมพันธ์

  1. E-book สาระน่ารู้การเลือก สว.
  2. คลิปวิดีโอสาระน่ารู้การเลือก สว. ตอน การเลือก สว. มีขั้นตอนอย่างไร
  3. คลิปวิดีโอสาระน่ารู้การเลือก สว. ตอน 20 กลุ่มอาชีพ ผู้สมัครรับเลือก สว.
  4. อินโฟกราฟิกสาระน่ารู้การเลือก สว.
  5. บทพูดประชาสัมพันธ์การเลือกสมาชิกวุฒิสภา
  6. สาระน่ารู้การเลือก สว. (ภาคภาษาอังกฤษ)
  7. สื่อวีดีทัศน์ขั้นตอนการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของผู้อำนวยการการเลือกในทุกระดับ
  8. โปสเตอร์และแผ่นผับการเลือก สว.
  9. สารคดีวิทยุประชาสัมพันธ์การเลือก สว.
  10. มาสคอตการเลือก สว.
  11. ภาพหน้าปกแฟนเพจรณรงค์การเลือก สว.
  12. คู่มือสำหรับผู้สมัครรับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ปี 2567
  13. คู่มือประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับการได้มาซึ่ง สว.
  14. หนังสือเสียงคู่มือประชาชนให้ความรู้เกี่ยวกับการได้มาซึ่ง สว.
  15. ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (คลิปวิดีโอพร้อมล่ามภาษามือ)
  16. ขั้นตอนการประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (คลิปวิดีโอพร้อมล่ามภาษามือ)
  17. ข้อห้ามในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (คลิปวิดีโอพร้อมล่ามภาษามือ)