ปฏิทินจัดการเลือกตั้ง
- 7 สิงหาคม 2567 วันที่สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1 ว่างลง
- 17 สิงหาคม 2567 วันที่พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งฯ มีผลใช้บังคับ
- 19 สิงหาคม 2567 กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งและวันสมัครรับเลือกตั้ง
- 21 - 25 สิงหาคม 2567 วันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- 25 สิงหาคม 2567 วันสุดท้ายในการส่งหนังสือแจ้งเจ้าบ้านและแต่งตั้งคณะกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง
- 1 กันยายน 2567 วันสุดท้ายในการประกาศบัญชีรายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งฯ
- 8 กันยายน 2567 วันสุดท้ายในการยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
- 11 กันยายน 2567 วันสุดท้ายที่ศาลฎีกาพิจารณาสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง (กรณีผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งประกาศไม่รับสมัคร)
- 14 กันยายน 2567 วันสุดท้ายที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลฎีกา กรณีผู้สมัครฯ ขาดคุณสมบัติ
- 8 - 14 กันยายน 2567 ระยะเวลาแจ้งเหตุอันไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ช่วงที่ 1)
- 15 กันยายน 2567 วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง
- 16 - 22 กันนยายน 2567 ระยะเวลาแจ้งเหตุอันไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง (ช่วงที่ 2)
การสมัครรับเลือกตั้ง
- 21 - 25 สิงหาคม 2567 วันสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดพิษณุโลก เขตเลือกตั้งที่ 1 แทนตำแหน่งที่ว่าง
คุณสมบัติของผู้รับสมัครรับเลือกตั้ง
- สัญชาติไทยโดยกําเนิด
- อายุไม่น้อยกว่า 25 ปี
- นับถึงวันเลือกตั้ง
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองเดียว
- ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
- และต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ด้วย
- มีชื่อในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัคร ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี นับถึงวันสมัครรับเลือกตั้ง
- เกิดในจังหวัดที่สมัคร
- เคยเรียนในจังหวัดที่สมัครไม่น้อยกว่า 5 ปีการศึกษา
- เคยรับราชการหรือปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานรัฐในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี
- เคยมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครติดต่อกันไม่น้อยกว่า 5 ปี
ลักษณะต้องห้ามของผู้รับสมัครรับเลือกตั้ง
ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องไม่มี ลักษณะต้องห้ามต่อไปนี้
- ติดยาเสพติดให้โทษ
- เป็นบุคคลล้มละลายหรือ เคยเป็นบุคคลล้มละลายทุจริต
- เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการ หนังสือพิมพ์ หรือสื่อมวลชนใด ๆ
- เป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง (ตามมาตรา 96 (1) (2) หรือ (4) แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560)
- อยู่ระหว่างถูกระงับการใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นการชั่วคราวหรือถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง
- ต้องคําพิพากษาให้จําคุกและ ถูกคุมขังอยู่โดยหมายของศาล
- เคยได้รับโทษจําคุกโดยได้พ้นโทษมายังไม่ถึงสิบปีนับถึงวันเลือกตั้ง เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
- เคยถูกสั่งให้พ้นจากราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ เพราะทุจริตต่อหน้าที่หรือถือว่ากระทํา การทุจริตหรือประพฤติมิชอบในวงราชการ
- เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดว่า :
กระทําความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการหรือต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม หรือกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ หรือความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทําโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน กฎหมายว่าด้วยยาเสพติดในความผิดฐานเป็นผู้ผลิต นําเข้า ส่งออก หรือผู้ค้า กฎหมายว่าด้วยการพนันในความผิดฐานเป็นเจ้ามือ หรือเจ้าสํานัก กฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ หรือกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินในความผิดฐานฟอกเงิน
- เคยต้องคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอันถึงที่สุด ให้ทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินเพราะรํ่ารวยผิดปกติ หรือเคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุดให้ลงโทษจําคุก เพราะกระทําความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกัน และปราบปรามการทุจริต
- เคยต้องคําพิพากษาอันถึงที่สุด ว่ากระทําการอันเป็นการทุจริตในการเลือกตั้ง
- เป็นข้าราชการซึ่งมีตําแหน่งหรือเงินเดือนประจํานอกจากข้าราชการการเมือง
- เป็นสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
- เป็นสมาชิกวุฒิสภาหรือเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกภาพสิ้นสุดลงยังไม่เกินสองปี
- เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่น ของรัฐ
- เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดํารงตําแหน่งในองค์กรอิสระ
- อยู่ในระหว่างต้องห้ามมิให้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง
- เคยพ้นจากตําแหน่ง สส. เพราะเหตุตามมาตรา 144 หรือมาตรา 235 วรรคสาม แห่งรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2560
คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
คุณสมบัติผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- มีสัญชาติไทย หรือ หากเคยแปลงสัญชาติต้องได้สัญชาติไทยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
- อายุไม่ตํ่ากว่า 18 ปี ในวันเลือกตั้ง
- มีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 90 วัน นับถึงวันเลือกตั้ง
ลักษณะต้องห้ามของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- เป็นภิกษุ สามเณร นักพรต หรือนักบวช
- อยู่ในระหว่างถูกเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้ง
- ต้องคุมขังโดยหมายของศาล หรือคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
การตรวจสอบสิทธิเลือกตั้งและช่องทางการตรวจสอบ
20 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง
- ตรวจสอบรายชื่อจากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ได้ที่ ศาลากลางจังหวัด ที่ว่าการอำเภอ ที่ทำการ อบต. สำนักงานเทศบาล ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านหรือเขตชุมชน
15 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง
- ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง ได้ที่ หนังสือแจ้งเจ้าบ้าน (ส.ส. 1/6)
การเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
หากเห็นว่าไม่มีชื่อตนเอง หรือมีชื่อผู้ไม่มีสิทธิเลือกตั้งปรากฏอยู่ในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งให้ยื่นแบบคำร้องแจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อกับต่อนายทะเบียนอำเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่นโดยนำหลักฐานเหล่านี้มาแสดง
- แบบคำร้องขอเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ (แบบ สส. 1/7)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวอื่นที่ทางราชการออกให้
จะใช้สิทธิเลือกตั้งได้ต้องใช้หลักฐานแสดงตนอะไรได้บ้าง ?
- บัตรประจำตัวประชาชน (บัตรที่หมดอายุก็ใช้ได้)
- บัตรหรือหลักฐานที่ราชการหรือหน่วยงานของรัฐออกให้โดยมีรูปถ่ายและหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนเช่น บัตรประจำตัวเจ้า หน้าที่ของรัฐ ใบขับขี่ พาสปอร์ต
- บัตรประจำตัวประชาชนอิเล็กทรอนิกส์จาก แอปพลิเคชัน D.DOPA หรือ ใบอนุญาตขับขี่อิเล็กทรอนิกส์จากแอปพลิเคชัน DLT QR LICENCE สามารถใช้เป็นหลักฐานแสดงตนได้
ขั้นตอนการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง
5 ขั้นตอนง่าย ๆ ในการลงคะแนนเลือกตั้ง
- ขั้นตอนที่ 1 ตรวจสอบรายชื่อ
ตรวจสอบรายชื่อและลําดับที่จากบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ที่ประกาศไว้หน้าหน่วยเลือกตั้ง หรือตรวจสอบข้อมูลการใช้สิทธิทางแอปฯ Smart Vote
- ขั้นตอนที่ 2 ยื่นหลักฐานแสดงตน
ยื่นบัตรประชาชนหรือหลักฐานแสดงตนให้กรรมการประจําหน่วยเลือกตั้งเพื่อตรวจสอบข้อมูลและยืนยันตัวตน พร้อมลงลายมือชื่อในบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
- ขั้นตอนที่ 3 รับบัตรเลือกตั้ง
รับบัตรเลือกตั้ง 1 ใบ ได้แก่บัตรเลือกตั้ง สส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งพร้อมลงลายมือชื่อหรือพิมพ์ลายนิ้วหัวแม่มือขวาบนต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง โดยกรรมการประจําที่เลือกตั้งลงลายมือชื่อในต้นขั้วบัตรเลือกตั้ง
- ขั้นตอนที่ 4 ทําเครื่องหมายกากบาท
เข้าคูหาลงคะแนน ทําเครื่องหมายกากบาท X ลงในช่องทําเครื่องหมายในบัตรเลือกตั้ง โดยสามารถเลือกผู้สมัครได้เพียงหมายเลขเดียว หากไม่ต้องการเลือกผู้สมัครใดเลย ให้ทําเครื่องหมายกากบาท X ในช่องไม่ประสงค์เลือกผู้สมัครผู้ใด
- ขั้นตอนที่ 5 หย่อนบัตรด้วยตนเอง
เมื่อลงคะแนนเสร็จแล้วพับบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภท ให้เรียบร้อย และหย่อนบัตรลงในหีบบัตรเลือกตั้งแต่ละประเภทให้ถูกต้องด้วยตนเอง
การแจ้งเหตุอันไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
หากไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และไม่ได้แจ้งเหตุฯ หรือแจ้งเหตุฯ แล้วแต่เหตุนั้นไม่สมควร กฎหมายกําหนดให้เสียสิทธิบางประการดังต่อไปนี้
- สิทธิในการยื่นคําร้องคัดค้านการเลือกตั้ง สส.
- สิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งเป็น สส. หรือสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น หรือสมัครรับเลือกเป็น สว.
- สิทธิในการสมัครรับเลือกเป็นกํานันและผู้ใหญ่บ้าน
- ต้องห้ามดํารงตําแหน่งข้าราชการการเมือง และข้าราชการรัฐสภาฝ่ายการเมือง
- ต้องห้ามดํารงตําแหน่งรองผู้บริหารท้องถิ่น เลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ผู้ช่วยเลขานุการผู้บริหารท้องถิ่น ประธานที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่น ที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นหรือคณะที่ปรึกษาผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
การจํากัดสิทธิทั้ง 5 ข้อ กําหนดเวลาครั้งละ 2 ปีนับแต่วันเลือกตั้ง ครั้งที่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง และหากในการเลือกตั้งครั้งต่อไปไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งอีก ให้เริ่ม นับเวลาการจํากัดสิทธิ 2 ปีใหม่
เพื่อเป็น การป้องกันการเสียสิทธิทั้ง 5 ข้อ ผู้ที่ไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสามารถแจ้งเหตุอันไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้ โดยมี 2 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
- ก่อนหรือหลังวันเลือกตั้ง 7 วัน ขอรับแบบ สส. 28 หรือทําหนังสือชี้แจงเหตุที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งไม่ได้ และให้ระบุเลขประจําตัวประชาชนและที่อยู่ตามทะเบียนบ้าน
- ยื่นหนังสือต่อนายทะเบียนอําเภอหรือนายทะเบียนท้องถิ่น โดยสามารถยื่นด้วยตนเองหรือมอบหมายผู้อื่น หรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียน หรือแจ้งทางอินเทอร์เน็ตลงทะเบียนแจ้งเหตุอันไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
6 เหตุอันสมควรที่ทำให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ไม่ได้
- ผู้มีธุรกิจจําเป็นเร่งด่วนต้องเดินทางไปพื้นที่ห่างไกล
- ผู้ป่วยและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้พิการหรือผู้สูงอายุและไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิเลือกตั้งได้
- ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
- ผู้มีถิ่นที่อยู่ห่างไกลจากที่เลือกตั้งเกินกว่า 100 กิโลเมตร
- ผู้ประสบเหตุสุดวิสัย เช่น อุทกภัย วาตภัย ฯลฯ
ข้อห้ามข้อพึงระวังในการกระทำความผิดกฎหมายเลือกตั้ง
- ห้ามซื้อเสียง หรือจัดเตรียมซื้อเสียง
- ห้ามรับเงินและประโยชน์อื่นใด เพื่อลงคะแนน หรืองดเว้นไม่ลงคะแนน
- ห้ามจำหน่าย จ่ายแจกหรือจัดเลี้ยงสุรา ตั้งแต่ 18.00 น. ของวันก่อนวันเลือกตั้งจนสิ้นสุดวันเลือกตั้ง
- ห้ามนายจ้างขัดขวางการไปใช้สิทธิของลูกจ้าง
- ห้ามขัดขวางหรือหน่วงเหนี่ยวมิให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไป ณ ที่เลือกตั้ง
- ห้ามจัดยานพาหนะ (ยกเว้นหน่วยงานรัฐ) ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกตั้ง โดยไม่ต้องเสียค่าโดยสาร
- ห้ามทำให้บัตรเลือกตั้งชำรุดอย่างจงใจ
- ห้ามถ่ายภาพบัตรเลือกตั้งที่ตนเองได้ลงคะแนนแล้วด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ใด ๆ
- ห้ามเล่นการพนันขันต่อใด ๆ เกี่ยวกับผลการเลือกตั้ง
- ห้ามเปิดเผยหรือเผยแพร่ผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้ง (โพล) ในระหว่างเวลา 7 วันก่อนวันเลือกตั้ง จนถึงเวลาปิดการลงคะแนนเลือกตั้ง
- ห้ามนำบัตรเลือกตั้งออกไปจากที่เลือกตั้ง
หากพบเบาะแสทุจริตเลือกตั้ง เราทำอะไรได้บ้าง?
เมื่อพบเห็นการทุจริตการเลือกตั้ง เช่น การแจกเงิน สิ่งของ ประชาชนสามารถรายงานสถานการณ์และป้องกันการทุจริตเลือกตั้งได้
ช่องทางที่ 1 แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” รายงานสถานการณ์ได้ทั้งข้อความ ภาพ เสียง หรือวีดีโอ
ช่องทางที่ 2 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดพิษณุโลก
ช่องทางที่ 3 บริการสายด่วน กกต. 1444